วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

CHAPTER 4 E-COMMERCE

CHAPTER 3 E-COMMERCE

▪ความหมายของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
▪กรอบการทำงานและโครงสร้างพื้นฐานของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
▪การประยุกต์ใช้การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
▪การสนับสนุนและการจัดการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
▪ประเภทของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
▪ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
▪ข้อดีและข้อเสียของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONIC BUSINESS)

ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business)
คือกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าองค์การ
เครือข่ายร่วม (Internetworked Network) ไ ม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์
อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) การติดต่อสื่อสารและการทำงาน

ร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONIC COMMERCE)

▪พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
(ECRC Thailand,1999)
!
▪พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย
หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (WTO,1998)

▪พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำ
ธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยี
ประเภทต่าง ๆ และครอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคาร
อิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์, ไ ปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โ ทรสาร, คะตะล๊อกอิเล็กทรอนิกส์,
การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร (ESCAP,

1998)

▪พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิง
พาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวล และ

การส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ (OECD,1997)


▪สรุป
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ ใ นทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและ
บริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไ ม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โ ทรทัศน์ วิทยุ
หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โ ดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่ม
ประสิทธิภาพขององค์กร โ ดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น
ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงาน
ขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของ

ระยะทาง และเวลาลงได้


การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application)

❖ การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
❖ การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
❖ การบริการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service)
❖ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
❖ การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (M-Commerce : Mobile Commerce)

โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)

❖ องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน ที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาระบบ
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
❖ระบบเครือข่าย (Network)
❖ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
❖การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)

❖การรักษาความปลอดภัย (Security)


การสนับสนุน (E-Commerce Supporting)
ส่วนของการสนับสนุนจะทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนส่วยของการประยุกต์
ใช้งานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนเสาหลักของบ้าน ที่ทำ
หน้าที่ค้ำจุนให้หลังคาบ้านอย่างไรก็ตามเสาบ้านก็ต้องอาศัยพื้นบาน ใ นส่วนของ
โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงต่อไป สำหรับส่วนสนับสนุน

ของ E-Commerce มีองค์ประกอบ 5 ส่วนด้วยกันดังต่อไปนี้

1. การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development
2. การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy
3. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law
4. การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration

5. การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion








ประเภทของ E-Commerce
กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร (Profits Organization)
1. Business-to-Business (B2B)
2. Business-to-Customer (B2C)
3. Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)
4. Customer-to-Customer (C2C)
5. Customer-to-Business (C2B)

6. Mobile Commerce

กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร (Non-Profit Organization)
1. Intrabusiness (Organization) E-Commerce
2. Business-to-Employee (B2E)
3. Government-to-Citizen (G2C)
4. Collaborative Commerce (C-Commerce)
5. Exchange-to-Exchange (E2E)

6. E-Learning

E-Commerce Business Model

ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก
ตัวอย่างของธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิกในการศึกษาได้แก่ AOL (ธุรกิจ ISP), Wall Street Journal
(หนังสือพิมพ์), JobsDB.com (ข้อมูลตลาดงาน), และ Business Online (ข้อมูลบริษัท) ธุรกิจในกลุ่มนี้หลายราย
เป็นธุรกิจที่ได้กำไรแล้วเนื่องจากรายได้จากค่าสมาชิกเป็นรายได้ที่มีความมั่นคงกว่ารายได้จากแหล่งอื่นเช่น รายได้จาก
การโฆษณา หรือค่านายหน้า อย่างไรก็ตาม ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจที่จะสามารถหารายได้จากค่าสมาชิกได้ก็คือ
การมีสารสนเทศหรือบริการที่มีคุณภาพที่ดี พอที่จะทำให้ลูกค้ายอมจ่ายค่าสมาชิกดังกล่าว เช่น ต้องมีสารสนเทศที่แตก
ต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น (Wall Street Journal หรือ Business Online) หรือใช้กลยุทธ์ทางการตลาดในการ
รักษาฐานลูกค้าไว้ เช่น AOL รักษาฐานลูกค้าของตนด้วยหมายเลขอีเมล์หรือหมายเลข ICQ ซึ่งลูกค้าที่ใช้บริการไปแล้ว
ระยะหนึ่งไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง ธุรกิจที่มีรายได้จากสมาชิกยังสามารถใช้ฐานลูกค้าของตนที่มีอยู่ขยายต่อ ไปยังธุรกิจ

ต่อเนื่องอื่นๆ เช่น AOL ใช้ฐานสมาชิกของตนในการหารายได้จากการโฆษณาออนไลน์ และธุรกิจค้าปลีก

ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน
ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานเป็นธุรกิจ E-Commerce ที่ให้บริการแก่ธุรกิจ E-Commerce อื่น ตัวอย่าง
ของธุรกิจพื้นฐานในการศึกษา ได้แก่ Consonus (ธุรกิจศูนย์ข้อมูล และ ASP), Pay Pal (ธุรกิจชำระ
เงินออนไลน์), Verisign (ธุรกิจออกใบรับรองดิจิตัล), BBBOnline (ธุรกิจรับรองการประกอบธุรกิจที่
ได้มาตรฐาน), Siamguru (บริการเสิร์ชเอนจิ้น), และ FedEx (บริการจัดส่งพัสดุ) ปัจจัยในความ
สำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของตลาด E-Commerce โ ดยรวม กล่าวคือ หาก

เศรษฐกิจ อยู่ในช่วงขยายตัว และมีผู้ประกอบการ E-Commerce

รกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบของธุรกิจ E-Commerce ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีที่สุด เมื่อกล่าวถึงธุรกิจ E-Commerce คน
ทั่วไป จึงมักจะนึกถึงธุรกิจในกลุ่มนี้ ตัวอย่างของธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Online Retailer) ใ นกรณีศึกษาได้แก่
Amazon (หนังสือ), 7dream (ของชำ), EthioGift (ของขวัญวันเทศกาลของเอธิโอเปีย), 1-800-Flowers (ดอกไม้),
Webvan (ของชำ), Tony Stone Image (รูปภาพ), และ Thaigem (อัญมณี) รายได้หลักของธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์มา
จากการจำหน่ายสินค้า ใ นช่วงแรกผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ มักคาดหวังว่า การประกอบการโดยไม่ต้องมีร้านค้า

ทางกายภาพจะช่วยให้ตนมีต้นทุนที่ต่ำ และสามารถขายสินค้าให้แก่ ลูกค้าในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่งได้


ธุรกิจที่หารายได้จากโฆษณา
ในช่วงหลังธุรกิจ E-Commerce ที่หวังหารายได้จากการโฆษณาซบเซาลงไปมาก เนื่องจากการเข้าสู่ตลาดดังกล่าว
ทำได้ง่าย ทำให้จำนวนพื้นที่โฆษณาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลทำให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง และมีผลกระทบ
ต่อรายได้ของผู้ประกอบการแทบทุกราย นอกจากนี้ การจัดทำเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้ต้องอาศัยการ
ลงทุนสูง และจำเป็นต้องทำการตลาดและการประชาสัมพันธ์ผ่าน สื่อต่างๆมาก ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจใน

กลุ่มนี้จึงได้แก่การสร้างจุดเด่นที่แตกต่างจากธุรกิจในแนวเดียวกัน ใ นขณะที่สามารถควบคุมต้นทุนได้


บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างของบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) ใ นกรณีศึกษา ไ ด้แก่ MERX (การให้ข้อมูลการ
ประกวดราคาของโครงการรัฐ), Buyers.Gov (การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ) และ eCitizen (การให้บริการของรัฐแก่
ประชาชน) บริการในกลุ่มนี้มักมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนและธุรกิจในการติดต่อกับภาค
รัฐ (eCitizen) เพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงาน (MERX) เพิ่มประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ

ของภาครัฐ (Buyers.Gov) เป็นต้น

ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์
ธุรกิจในกลุ่มนี้มีรูปแบบการหารายได้ทั้งในแบบ B2C ซึ่งหารายได้จากการจำหน่ายสินค้าส่วนเกินของบริษัทโดยไม่
เกิดความขัดแย้งกับช่องทางเดิม นอกจากนี้ตลาดประมูลออนไลน์ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถหาราคาที่เหมาะสมของ
สินค้า ตัวอย่างของธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์ แบบ B2C ใ นกรณีศึกษาได้แก่ Egghead (สินค้าอิเล็กทรอนิกส์)
และ Priceline (สินค้าท่องเที่ยว) เป็นต้น รูปแบบธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์อีกประเภทหนึ่งคือแบบ C2C ธุรกิจ
ในกลุ่มนี้จะหารายได้จากค่านายหน้าในการให้บริการตลาดประมูลซึ่งช่วยจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกัน ตัวอย่าง

ของธุรกิจตลาดประมูลดังกล่าวนี้คือ Ebay

ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างของธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace) ใ นกรณีศึกษาได้แก่ PaperExchange (กระดาษ),
FoodMarketExchange (อาหาร), DoubleClick (แบนเนอร์ในอินเทอร์เน็ต), Half.com (สินค้าใช้แล้ว), และ
Translogistica (ขนส่งทางบก) ธุรกิจในกลุ่มนี้จะหารายได้จากค่านายหน้าในการให้บริการตลาดกลางซึ่งช่วยจับคู่
ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกัน ในช่วงแรกธุรกิจตลาดกลางมักดำเนินการโดยผู้บริหารตลาดที่เป็นอิสระจากผู้ซื้อหรือผู้
ขาย (Independent Market Maker) อย่างไรก็ตามต่อมาพบว่า ผู้บริหารตลาดอิสระมักไม่สามารถชักชวนผู้ซื้อ
หรือผู้ขายให้เข้าร่วมในตลาดจนมีจำนวนที่มากพอได้


ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce

1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ


ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น